พระร่วงยืน กรุศาลาขาว(สวนแตง)

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน เวียงหนองล่อง 2
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 0871122996
Line ID nuttakul06
จำนวนผู้ชม 833
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
เชียงใหม่ 19 กรกฎาคม 2563 14:27 PM
ชื่อพระ :

พระร่วงยืน กรุศาลาขาว(สวนแตง)


รายละเอียดพระ :

พระร่วงยืน กรุศาลาขาว หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า พระร่วงยืน กรุสวนแตง ทั้ง ๒ ชื่อนี้เป็นพระกรุเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากว่า พระกรุนี้ขุดพบในเขต อ.สวนแตง จ.สุพรรณบุรี จึงเอาชื่อของอำเภอมาเรียกเป็นชื่อกรุพระว่า พระกรุสวนแตง ส่วนที่เรียกว่า กรุศาลาขาว นั้น เป็นการเรียกตามชื่อหมู่บ้านที่ขุดพบพระกรุนี้ คือ บ้านศาลาขาว พระกรุนี้ ขุดพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ เป็น พระร่วงยืนประทานพร เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงล้วนๆ เป็นพระสนิมแดงเข้มจัด แบบแดงลูกหว้า มีไขขาวหนาเข้มมันวาวคลุมทั่วองค์พระ และมีขี้กรุคลุมบางๆ ไม่มากนัก ทำให้มองเห็นเนื้อองค์พระได้อย่างชัดเจน และสวยงาม พระร่วงยืนประทานพร กรุศาลาขาว แบ่งตามลักษณะที่พบเห็นได้หลายพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ คล้ายกับพิมพ์หลังผ้าของ จ.ลพบุรี พิมพ์หลังร่อง คล้ายพิมพ์หลังรางปืนของ จ.สุโขทัย และ พิมพ์ตัดชิด หลังกาบหมาก พระทั้งหมดเป็นศิลปะ แบบลพบุรี แต่เป็นพระที่สร้างคนละยุคกัน ลักษณะของเนื้อหา สนิมไข และแบบพิมพ์ บงชี้ได้ว่า สร้างภายหลังสมัยลพบุรี และสุโขทัย ที่เป็นต้นแบบของพระร่วงยืนประทานพร พระร่วงยืนประทานพร กรุศาลาขาว พิมพ์ใหญ่ จะแตกต่างกับ พระร่วงยืนประทานพร หลังลายผ้า ของ จ.ลพบุรี ตรงที่ ขอบองค์พระบริเวณข้างด้านบนทั้งสองด้าน ตรงบริเวณเหนือไหล่องค์พระ จะเป็นมุมขยักเว้าเข้าเล็กน้อย บางองค์ก็เว้าเข้าไปลึกมาก และบริเวณพื้นผนังองค์พระด้านข้างเศียร ไม่มีซุ้มลายกนกโดยรอบเศียร เหมือนกับ พระร่วงยืน หลังลายผ้า และ พระร่วงยืน หลังรางปืน และที่แตกต่างกันโดยเห็นได้ชัด คือ บริเวณฐานขององค์พระร่วงยืน กรุศาลาขาว จะปรากฏให้เห็น ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะแรก พื้นบริเวณผนังองค์พระข้างพระบาทซ้ายขวา จะถูกตัดเป็น รอยหยักเว้า เข้าไปในองค์พระ ที่เรียกกันว่า พิมพ์ตัดชิด มองคล้ายกับลักษณะของ ตีนเป็ด อันเป็นที่มาของพระพิมพ์นี้ ที่นิยมเรียกกันว่า พระร่วงตีนเป็ด ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ บริเวณพื้นดังกล่าวเป็นปกติ ไม่มีร่องรอยของการถูกตัดหยักเว้า แต่จะพบเห็นมีลักษณะความพิเศษอีกจุดหนึ่งของการแกะแบบแม่พิมพ์เดิม ที่ออกแบบตรงที่ฐานข้างพระบาททั้งสอง ด้านหน้าจะปรากฏลักษณะรอยบากให้เป็นระดับต่ำกว่า แลดูเป็นมิติ แบบชั้นสูงต่ำระหว่างขอบล่างพระบาทของฐานพระไม่เรียบเสมอกัน เหมือนพระบาททั้งสองประทับนูนสูง ยื่นล้ำออกมาด้านหน้า ส่วนลักษณะของ พระพักตร์ จะพบเห็นพระพักตร์แบบหน้าเสี้ยมแหลม แลดูอ่อนโยน เหมือนแฝงไว้ด้วยรอยยิ้ม เล็กน้อย ไม่แสดงอารมณ์อันเคร่งเครียด ลักษณะหมวก ที่เป็นมงกุฎทรงเทริด เป็นกรอบยกขอบสูง และไม่ปรากฏพระกรรณ (ใบหู) ทั้งสองข้าง ลักษณะของลำตัว โครงสร้างเป็นแบบเดียวกับพระร่วงยืนประทานพร หลังลายผ้า ของ จ.ลพบุรี แต่จะดูตื้นกว่า มีเส้นประคดเอว กลีบพระภูษา และส่วนอื่นๆ ปรากฏ ลักษณะเป็นเส้นนูนกลมกลืน และสวยงามได้สัดส่วน เส้นชายจีวรที่พาดผ่าน จากข้อศอก แขนขวา ยาวลงมาเป็นเส้นขนานกับขอบข้างขององค์พระ ด้านหลังขององค์พระทั้ง ๓ พิมพ์ จะปรากฏให้เห็นทั้งแบบ หลังกาบหมาก หลังร่อง และ หลังลายผ้า พระพิมพ์ใหญ่แบบ หลังลายผ้า ส่วนใหญ่ด้านหน้าจะมีรายละเอียด เช่นเดียวกับพระร่วงยืน หลังลายผ้า จ.ลพบุรี และหลังรางปืน ของ จ.สุโขทัย สำหรับ พระร่วงยืน "หลังร่อง" กรุศาลาขาว พิมพ์นี้ บางท่านมักจะเรียกว่า พระร่วงหลังรางปืน เหมือนกับของ จ.สุโขทัย ซึ่งความจริงแล้วไม่น่าถูกต้องนัก ควรเรียกว่า หลังร่อง จะตรงกับลักษณะมากกว่า ความแตกต่าง ระหว่าง พระร่วงยืน หลังรางปืน กับพระร่วงยืน หลังร่อง มี ๒ ลักษณะ ๑.พระร่วงยืน หลังรางปืน ลักษณะของการเกิดร่อง หรือรางปืนนั้น เป็นร่องตั้งแต่จากขอบล่างสุดขององค์พระ ขึ้นมาสิ้นสุดบริเวณตรงข้ามกับพระเศียรขององค์พระด้านหน้า ส่วน พระร่วงยืน หลังร่อง ลักษณะการเกิดของร่องจะเกิดบริเวณกลางองค์พระด้านหลัง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่องเลยไปถึงขอบล่างเหมือน พระร่วงยืน หลังรางปืน ๒.พระร่วงยืน หลังรางปืน ด้านหลัง รวมทั้งในร่องยังปรากฏ เส้นกาบหมาก ทั้งในแนวดิ่ง และแนวขวาง หลายจุดหลายเส้นด้วยกัน ส่วน พระร่วงยืน หลังร่อง ไม่ปรากฏเส้นกาบหมากดังกล่าว แม้แต่เส้นเดียว ขนาดองค์พระ มีขนาดย่อมกว่า เมื่อเทียบกับ พระร่วงยืน ของ จ.ลพบุรี และ จ.สุโขทัย คือ กว้างประมาณ ๒.๒ ซม. สูง ๗ ซม. สมัยที่ขุดพบพระกรุนี้ ขบวนการขุดหาพระได้ใช้เครื่องแสวงหาพระ พบพระร่วงกรุนี้จำนวนร้อยกว่าองค์ ขายกัน ในชั้นต้นองค์ละ ๕-๖ พันบาท ต่อมาอีก ๔๘ ชม. ราคาขยับขึ้นตามสภาพ เป็นองค์ละ หมื่น และหลายๆ หมื่นบาท จนกระทั่งราคาเป็นแสน สำหรับพระพิมพ์หลังร่อง หนึ่งสัปดาห์เท่านั้น พระร่วงกรุนี้ก็เงียบหายไปเข้ารังพระใหญ่ๆ จนหมด เพราะพระที่ขุดพบมีจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันราคาสภาพปานกลางอยู่ที่หลักแสนต้น ถ้าสวยสมบูรณ์คมชัดเต็มฟอร์ม ราคาจะเลยแสนกลางขึ้นไป พุทธคุณ ครบถ้วนด้วยประสบการณ์ด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด และมหาอำนาจบารมี นับเป็นสุดยอดพระเนื้อสนิมแดง อีกกรุหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี (อ้างอิงจาก"ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ")

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ