แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท พุทธคุณเล่าขานกันมาอย่างยาวนาน
14 กันยายน 2563    15,371

พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

โดย ศาล มรดกไทย


ในบรรดาวัตถุมงคลที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้สร้างและปลุกเสกเอาไว้ที่ได้รับการยอมรับเสาะหากันด้วยราคาสูงมีจํานวนหลายๆ แบบพิมพ์ แต่ถ้าจะกล่าวถึงพระเครื่องแบบใดของหลวงปู่ที่เป็นที่หมายปองของผู้เคารพศรัทธา และอยากจะได้มาบูชาติดตัวมากที่สุด หนึ่งในนั้นต้องยกให้พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิดเนื้อโลหะผสม เพราะจากประวัติการสร้างชัดเจน มีลูกศิษย์ได้รับกับมือสวงปู่หลายๆ คน ทั้งยังเล่าขานต่อๆ กันมาอย่างยาวนาน ในด้านพุทธคุณที่ประสบพบเจอ ทําให้พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิดเป็นหนึ่งในวัตถุมงคลของหลวงปู่ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ฉบับ 112 ธันวาคม 2554 หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ประวัติหลวงปู่ศุขโดยย่อ
หลวงปู่ท่านเป็นชาวตําบลมะขามเฒ่า อําเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เกิดเมื่อปี พ.ศ.2390 เป็นลูกชายคนโตในจํานวนพี่น้องเก้าคน เมื่อหลวงปู่อายุได้เพียงสิบขวบ ลุงของท่านได้พามาอยู่ด้วยที่จังหวัดนนทบุรี จนเติบโตเป็นหนุ่มและได้แต่งงานมีบุตรชายหนึ่งคน

เมื่อท่านอายุได้ 25 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ทองล่าง โดยมีพระครูเชย เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “เกสโร” ตั้งแต่หลวงปู่บวชเป็นพระภิกษุ ท่านชอบในการศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะวิชาอาคม ท่านเดินธุดงค์ไปศึกษาวิชาจากพระอาจารย์และฆราวาสเก่งๆ หลายๆ ท่าน จนหลวงปู่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาคมหลากหลายอย่าง เรียกได้ว่าหลวงปู่ศุขเป็นพระเกจิอาจารย์เพียงไม่กี่องค์ของเมืองไทย เท่าที่สืบประวัติได้ที่มีวิชาอาคมมากที่สุด

และเมื่อท่านธุดงค์กลับไปที่ชัยนาทและได้ไปปักธุดงค์ใกล้ๆ บ้านเกิด จนได้พบกับโยมมารดาซึ่งได้ขอให้หลวงปู่อยู่ประจําที่วัดเก่าแก่ที่บ้าน คือ วัดอู่ทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดปากคลองฯ) และเพื่อเห็นแก่มารดาของท่าน หลวงปู่ก็อยู่เป็นเจ้าอาวาส สร้างความเจริญเป็นที่พึ่งของชาวบ้านและลูกศิษย์จํานวนมากมายที่วัดนี้ จนมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2466 รวมอายุได้ 75 ปี

การสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด
วัดปากคลองมะขามเฒ่าอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยที่หลวงปู่เริ่มมีชื่อเสียง มีชาวบ้านต่างเดินทางมาขอวัตถุมงคลจากท่านเป็นจํานวนมาก ยิ่งพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องขึ้นล่องไปกรุงเทพฯ มักจะเดินทางสัญจรทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดของท่านและด้วยกิติศัพท์ที่ร่ำลือกันไปไกล ทําให้วัตถุมงคลที่หลวงปู่สร้างไว้ไม่เคยพอแจกให้ทําบุญ ในยุคสมัยแรกๆ

ก่อนปี พ.ศ.2450 หลวงปู่สร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยม ที่เป็นเนื้อตะกั่วก่อนเป็นเริ่มแรก เพราะเนื้อตะกั่วเสาะหาได้ง่าย ส่วนมากจะมีศิลปะแบบพิมพ์ชาวบ้านยังไม่ค่อยสวยงามมากนัก จนเมื่อใกล้ปี 2450 เสด็จพ่อ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) ทรงมาเป็นศิษย์ ทําให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ติดตามมาเป็นศิษย์หลวงปู่และน่าจะมีส่วนช่วยออกแบบสร้างพระพิมพ์ของหลวงปู่ให้ สวยงามมากขึ้น

สําหรับพระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิดน่าจะสร้างหลังปี พ.ศ. 2450 ไปแล้วด้วยมีแบบพิมพ์ที่เป็นมาตราฐานสวยงาม แต่ยังคงทําการสร้างพระ เทแบบหล่อโบราณในวัด ทําให้ยังไม่ค่อยสวยงามคมชัดเป็นเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง ที่พบเจอเนื้อตะกั่วก็มีบ้างจํานวนไม่มาก มีใช้แบบพิมพ์ด้วยดินนวลเหนียวผสมทําแบบพิมพ์พระเรียงยาวเป็นเส้นติดกัน เมื่อเทหล่อเสร็จแล้วเคาะดินนวลออก จะได้พระเรียงยาวติดกันเป็นเส้น หลังจากนั้นจึงตัดหัวท้ายพระตกแต่งด้วยตะไบทั้งหัวท้าย รวมถึงด้านข้างที่เทพระ มีเนื้อเกินออกมาเป็นบางองค์ 

 

ฉบับ 112 ธันวาคม 2554 พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

 

สําหรับพระพิมพ์ตัดชิด จะใช้แม่พิมพ์ประกบหน้าหลัง ทําให้ส่วนมากพระทั้งด้านหน้าและหลังเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นว่ามีขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อยไม่เสมอกันเท่ากัน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้แจกให้ลูกศิษย์ โดยบางองค์จะมีรอยจารลายมือหลวงปู่ที่ด้านหลังให้เห็น แต่บางองค์หลวงปู่ยังไม่ได้จารลูกศิษย์ขอไปก่อนเลยก็มี แต่โดยรวมแล้วพระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิดสร้างได้จํานวนไม่มากนัก เพราะสมัยก่อนโลหะทองเหลืองผสมที่นํามาสร้างหาได้ยาก และขั้นตอนก็สร้างได้ยากกว่าเนื้อชินตะกั่วมาก

พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด เป็นยอดวัตถุมงคลของหลวงปู่บที่เป็นที่ต้องการของผู้ที่เคารพนับถือ เรียกว่าใครที่ได้ครอบครองมักเลือกที่จะนําพระพิมพ์นี้มาบูชาติดตัว ด้วยเป็นที่เล่าขานกันมาเนิ่นนานว่าดีเยี่ยมทางด้านมหาอุดแบบปืนไม่มียังออก คงกระพันชาตรี ชนิดไม่มีวันได้เห็นเลือก ทั้งยังดีทางค้าขาย เมตตาหมานิยม เป็นพระเครื่องของหลวงปู่ ที่แม้แต่เซียนพระหลายๆ คนยังต้องมีพกติดตัวเอาไว้คู่กายแบบขาดมิได้เลยทีเดียว

 

ฉบับ 112 ธันวาคม 2554 พระพิมพ์สี่เหลี่ยมตัดชิด หลวงปู่ศุข-1

 

เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณอิ๊ด เมืองโบราณ, คุณแดง รามอินทรา, คุณพจน์ เก้าเทวา, คุณเอ ท่าพระจันทร์, คุณจรัล ราชสีห์

พระเครื่องล้ำค่า ปีที่ 9 ฉบับ 112 ธันวาคม 2554 หน้า 48-49