แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

พระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดพะโคะ จังหวัดสงขลา
11 มิถุนายน 2563    4,883

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์ใหญ่ เนื้อว่าน ปี 2506

โดย เชน สงขลา

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์ใหญ่ เนื้อว่าน ปี 2506


พระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เป็นพระเครื่องชั้นนําของประเทศไทยองค์หนึ่ง ที่ปัจจุบันนี้มีมูลค่าค่อนข้างสูงพอสมควร เพราะมีผู้คนนับถือเพิ่มจํานวนขึ้น ด้วยเพราะความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อทวด จึงทําให้ปัจจุบันเป็นพระอีกอย่างหนึ่งที่หายากมากขึ้นทุกที

คอลัมน์พระล้ำค่าน่าใช้ฉบับนี้ จะขอแนะนําพระเครื่องของหลวงพ่อทวดชนิดหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ นั่นคือ “พระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดพะโคะ จังหวัดสงขลา

ตามประวัติของหลวงพ่อทวด ซึ่งหลายท่านอาจจะทราบมาบ้างแล้วว่า เดิมท่านเป็นคนอําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เกิดและเติบโตที่นี่ วัดพะโคะ เคยเป็นที่จําพรรษาของสมเด็จราชมุนีสามีรามคุณปรมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวด ก่อนที่ท่านจะออกธุดงค์ไปถึงวัดช้างให้ วัดพะโคะจึงถือว่าเป็นต้นกําเนิดขององค์หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ในการสร้างพระของวัดพะโคะนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี 2506 โดยท่านอาจารย์เขียว ปุญญผโล รักษาการเจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ร่วมกับกรรมการวัดมอบหมายให้พระอธิการแสง อาภาธโร เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างพิมพ์ และจัดหามวลสารว่านส่วนผสมในการทําพระ โดยส่วนผสมสําคัญได้แก่ ว่าน 108 ชนิด น้ำผึ้งรวง กล้วยน้ำว้า น้ำมันตังอิ๊ว ผงพุทธคุณ ข้าวเหนียวดํา

ในการกดพิมพ์พระได้กําหนดให้คนที่มีชื่อเป็นสิริมงคลเป็นคนกดแม่พิมพ์พระ คือ นายนำ นายชัย และนายคง

ส่วนผู้ที่รับหน้าที่ตําส่วนผสมต่างๆ รวมทั้งคนกดพิมพ์พระต้องอาบน้ำ รับศีล และนุ่งขาวห่มขาว อันเป็นพิธีกรรมที่ถือเคร่งครัดมาแต่โบราณในการทําพิธีพุทธาภิเษก ได้มอบให้ ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี ทั้งพิธีพราหมาณ์ และพิธีทางพุทธ

โดยการนิมนต์พระเกจิที่เก่งๆ ในยุคสมัยนั้นมาประกอบพิธีกรรมปลุกเสกครบถ้วนตามแบบโบราณ

พระเครื่องที่สร้างขึ้นมี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก ส่วนพิมพ์กรรมการก็มี 2 พิมพ์เช่นกัน คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก ซึ่งจะนําเสนอในโอกาสต่อไป

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์ใหญ่ เนื้อว่าน ปี 2506

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์ใหญ่ เนื้อว่าน ปี 2506

 

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์เล็ก เนื้อว่าน ปี 2506

หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ พิมพ์เล็ก เนื้อว่าน ปี 2506


ลักษณะของพระ จะเป็นเนื้อว่าน รูปซุ้มกอ ปรากฏเป็นองค์หลวงพ่อทวดนั่งถือลูกแก้วอยู่ในมือ และปรากฏรัศมีอยู่รอบเศียรของหลวงพ่อทวด ด้านล่างปรากฏอักษร “พ” และ “ค” อันเป็นคําย่อของวัดพะโคะ ด้านหลังปรากฏเป็นรูปสถูปขององค์หลวงพ่อทวด และด้านล่างสถูปทําเป็นรูปรอยเท้าของท่าน ซึ่งท่านได้เหยียบไว้บนหน้าผาภายในวัด

ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่งสําหรับคนที่มานมัสการท่าน พระเนื้อว่านทั้งพิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากต่างกันก็แค่ขนาดขององค์พระเท่านั้น ส่วนเนื้อพระจะปรากฏคราบน้ำว่านซึ่งจะออกมาตามอายุขัย มีสีน้ำตาลบ้าง น้ำตาลอมแดงบ้าง ออกมาปกคลุม และที่ไม่ปรากฏคราบน้ำว่านออกมาปกคลุมก็มีเนื้อในของพระมีสีดํา เทา และน้ำตาล

พระหลวงพ่อทวด วัดพะโคะ นับเป็นพระชนิดหนึ่งที่น่ามีไว้บูชายิ่ง เพราะพิธีการสร้างทําได้ถูกต้องครบถ้วน และเข้มขลัง อีกทั้งราคาการเช่าหาในปัจจุบันนี้ยังไม่แพงเกินเอื้อม เพราะยังเล่นหากันอยู่ในหลักพันเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นพระพิมพ์กรรมการ ราคาก็ว่ากันที่หลักหมื่น เพราะจํานวนการสร้างพระมีน้อยกว่านั่นเอง พุทธคุณโดดเด่นมากทางด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย และคงกระพันชาตรี

 

พระเครื่องล้ำค่า ปีที่ 8 ฉบับ 90 กุมภาพันธ์ 2553 หน้า 33