แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

วัดพระธาตุดอยตุง พระธาตุประจำปีกุน ตามคติความเชื่อ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้าจากประเทศอินเดีย
4 มีนาคม 2563    1,355



วัดพระธาตุดอยตุง หรือ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า 
►ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

พระธาตุดอยตุง  รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสอง (คล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ) พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย

หรือกระดูกไหปลาร้าซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วย

พระเข้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตไว้ ณ ดอยแห่งนี้ และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุงมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระธาตุดอยตุงเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2470
ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้



ด้านหน้าพระธาตุมี “รอยปักตุง” เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต ตามความเชื่อคือ รอยแยก สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว เพื่อใช้ปักตุง ที่เป็นสัญลักษณ์
หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง การมีชัยชนะ ของชาวล้านนา
 



บริเวณวัด มีวิหาร ซึ่งด้านในมีพระพุทธศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ สามารถเข้าไปกราบไหว้บูชาได้


คำนมัสการพระธาตุดอยตุง : 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(สามจบ) 
พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรัง มะหาคะมา นะมามิหัง อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ (สามจบ)



นอกจากนี้ ภายในบริเวณทางขึ้นมี "บันไดมกรคายนาค" เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชน
ที่ทอดยาวจากด้านล่างขึ้นไปสู่องค์พระธาตุ ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร มีระฆังเรียงรายอยู่ข้างบันไดทางเดิน

 

ขอบคุณข้อมูล (บางส่วน) จาก wikipedia