แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

พระผงสุพรรณ พระเนื้อดิน หนึ่งในชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย | วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี
16 มิถุนายน 2563    1,069

พระกรุเก่าแก่ศิลปะยุคอู่ทอง พบที่ พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

"พระผงสุพรรณ" กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นพระเครื่องเลื่องชื่อ สร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งใน พระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย 

 

มีพุทธคุณ เมตตามหานิยมแคล้วคลาดภัยภิบัติ คงกระพัน โชคลาภ และความมีอำนาจ

พระผงสุพรรณที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานอยู่ที่ วิหารพระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

 



พระผงสุพรรณนั้น ปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า “..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธี เป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตรคือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม*
("เมืองสุพรรณบุรี ถือได้ว่าเป็นราชธานีแรกของประเทศไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓,๕๐๐-๓,๘๐๐ ปี เรียกกันว่า “ทวาราวดีศรีสุพรรณภูมิ” หรือ “พันธุมบุรี”)

ตามประวัติพบที่ พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี โดย ชาวจีนซึ่งปีนเนินฐานองค์ปรางค์ขึ้นไปเพื่อปลูกผัก แล้วเห็นเป็นโพรงทะลุลงไป และยังพบพระประเภทอื่นอีก อาทิ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ พระกำแพงนิ้ว ฯลฯ 

เมื่อปี พ.ศ.2456  พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูตร) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้น ได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ จึงได้พบองค์พระปรางค์ ปรากฏว่าพบ พระบูชาและพ ระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า 

“ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา”
 



พระผงสุพรรณเป็น พระเครื่องสกุลสูง เปรียบได้ว่าเป็นพระชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็น พระสี่เหลี่ยมทรงชะลูด จนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่งปางมารวิชัย ประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ ตัดหวาย ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง


พระผงสุพรรณ เนื้อเป็นเนื้อดินเผาละเอียด ปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) โดยเป็นดินจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ค่อนข้างละเอียด แล้วนำมาผ่านการกรอง หมัก และนวดอย่างพิถีพิถัน ผสมกับว่านและเกสรดอกไม้มงคล โดยการนำหัวว่านมาคั้นเอาแต่น้ำมาผสม เรียกว่า ‘แก่ว่าน’ ดังนั้น เมื่อผ่านกรรมวิธีการเผา ผิวขององค์พระจึงไม่เป็นโพรงจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน และเนื้อจะดูชุ่มฉ่ำไม่แข็งกระด้าง วงการพระเรียก ‘หนึกนุ่มซึ้งจัด’ อันเป็นลักษณะพิเศษที่ต่างจากเนื้อดินทั่วไป อีกทั้งกรรมวิธีการเผามีการควบคุมอุณหภูมิความร้อนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เนื้อขององค์พระมีสภาพแข็งแกร่งไม่เปราะหักง่าย
พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ

1 พิมพ์หน้าแก่
2 พิมพ์หน้ากลาง
3 พิมพ์หน้าหนุ่ม
 


ข้อมูลจาก 
siamrath.co.th
www.suphan.biz
www.suphancity.go.th