แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

กราบหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ตำนาน 'ปลัดขิก' ที่โด่งดังของเมืองไทย
28 กรกฎาคม 2563    2,925

วัดสาวชะโงก

ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา แผนที่

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

หลวงพ่อเหลือ เป็นพระเกจิที่มีคุณวิเศษในหลายด้าน โดยเมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ก็เป็น 1 ในพระเกจิที่สร้างผ้ายันต์แดง แจกทหารในสงคราม ในปี 2481 สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ หวั่นเกรงจะเกิดภัยสงครามทางด้านอินโดจีน จนชาวบ้านไม่เป็นอันทำมาหากิน จึงให้พระอริยคณาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา จำนวน 21 รูป ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศกธงชัยเฉลิมพล ซึ่งเป็นธงประจำกองทัพไทยที่วัดราชบพิธฯ กรุงเทพ เมื่อ 16 ธันวาคม 2481 

ที่โดดเด่นเป็นที่กล่าวถึงคือ ปลัดขิก เป็นที่ใฝ่หาของนักนิยมเครื่องราง ที่อยากได้มาครอบครอง มีอานุภาพทางคงกระพันและมหาเสน่ห์ ตามประวัติว่า ท่านแลกวิชากับ หลวงพ่อนก วัดสังกะสี โดยท่านสอนวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือให้ แล้วหลวงพ่อนกสอนวิชาปลุกเสกปลัดขิกให้ แต่ตามตำราปลุกเสกปลัดขิก มีเคล็ดว่าต้องปลุกเสก จนปลัดขิกดิ้นได้หรือกระดุกกระดิกได้ ท่านเพียรทำอยู่ไม่นานก็สำเร็จ

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

ภายในวัดจะมีรูปหล่อหลวงพ่อองค์ใหญ่ หน้าตัก 5 เมตร 59 เซนติเมตร
และวิหารอนุสรณ์พระครูนันทธีราจารย์ ที่อยู่ในระหว่างกำลังก่อสร้าง 

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

นอกจากนี้ยังมีวิหารอนุสรณ์หลวงพ่อเหลือเดิม ที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ภายในมีรูปหล่อ หลวงพ่อเหลือ และ รูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ ขอพระ ปิดทอง 

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก


รูปหล่อ หลวงพ่อขิก วัดสาวชะโงก เป็นเจ้าอาวาส รูปที่ ๒ ของวัดสาวชะโงก ท่านเป็นผู้สอนวิชา วิปัสสนากรรมฐาน ให้กับ หลวงพ่อเหลือ อีกทั้งยังเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ของหลวงพ่อเหลือ นับว่าท่าน เป็นบูรพาจารย์อีกรูปหนึ่งของวัดสาวชะโงก ที่น่าเคารพนับถือ และมีความศักดิ์สิทธิ์ของวัด เป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

สำหรับประวัติของ พระครูนันทธีราจารย์ หรือ หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร มีนามเดิม เหลือ รุ่งสะอาด เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ที่ ตำบลบางเล่า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดา ชื่อ นายรุ่ง-นางเพชร รุ่งสะอาด
ในปีพ.ศ.2428 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมา วัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า โดยมี พระอาจารย์คง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขิก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์โต วัดสาวชะโงก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา นันทสาโร


พระภิกษุเหลือ ได้ศึกษาอักษรขอม-บาลี และวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากพระอธิการขิก พระกรรมวาจาจารย์ ผู้มีวิทยาคมเข้มขลังจนแตกฉาน จากนั้นเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับพระเกจิผู้ทรงคุณอีกหลายสำนัก อาทิ หลวงพ่อดำ วัดกุฎี จังหวัดปราจีนบุรี และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นสหธรรมิกกับพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ ผู้เชี่ยวชาญด้านทำน้ำมนต์, หลวงพ่อนก วัดสังกะสี ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ฯลฯ

ต่อมาในปี พ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก และในปี พ.ศ. 2474 ได้เป็น เจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก

พระครูนันทธีราจารย์มรณภาพวันศุกร์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2488 ด้วยโรคประจำตัว และความชรา
 

วัดสาวชะโงก

วัดสาวชะโงก มีที่มาจาก ตำนานโศกนาฎกรรมความรักของคู่บ่าวสาวคู่หนึ่ง ได้มีพิธีแต่งงาน โดยเจ้าบ่าวเป็นคนอำเภอบ้านสร้าง ปราจีนบุรี ได้ล่องเรือใหญ่มาตามแม่น้ำบางปะกง เพื่อแห่ขบวนขันหมากขอเจ้าสาว และได้มาจอดเรือบริเวณคุ้งน้ำใกล้บ้านเจ้าสาวเพื่อรอฤกษ์ 

ฝ่ายครอบครัวเจ้าสาวรู้สึกดีใจที่มีขบวนขันหมากจัดมาใหญ่โต ด้วยเจ้าสาวอยาก เห็นหน้าเจ้าบ่าว จึงได้ชะโงกหน้าออกทางหน้าต่างออกมาดูและได้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เจ้าสาวพลัดตกจากเรือนไทยลงมาเสียชีวิต 

เหตุการณ์นี้ทำให้พ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวเสียใจอย่างยิ่ง จึงได้ทำการถวายที่ดิน 6 ไร่ ในการสร้างวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์และอุทิศส่วนกถศลให้แก่ลูกของตนและตั้งชื่อว่า 'วัดสาวชะโงก' ตั้งแต่นั้นมา 

 

ข้อมูลจาก 
wikipedia.org