ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย
หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท ฝังเขี้ยวหมาป่าอาถรรธ์ หลวงพ่อดำ วัดกุฏี สร้างก่อนปี ๒๕๐๐
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท ฝังเขี้ยวหมาป่าอาถรรธ์ หลวงพ่อดำ วัดกุฏี สร้างก่อนปี ๒๕๐๐
อีกหนึ่งสายเหนียวแห่งเมืองปราจีนบุรี หลวงพ่อดำ วัดกุฎี
**ประวัติโดยสังเขป**
เป็นพระธุดงค์ชาวเขมรมาจำพรรษาที่วัดกุฎี หลวงพ่อมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า ไม่มีใครทราบประวัติที่ชัดเจนของท่าน ท่านสำเร็จวิชาโส่ฬสดังเช่นเจ้าคุณเฒ่าวัดหนังสามารถเรียกปรอทได้ ท่านได้สร้างพระปิดตาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท่าน โดยสร้างจากเนื้อตะกั่วผสมปรอทที่ท่านเรียกเอง จึงจัดเป็นพระยุคแรกๆ ของท่าน เข้มขลัง ตามประวัติเล่ากันว่าพระชุดนี้ สร้างก่อนปี ๒๕๐๐ ผู้ที่ไช้วัตถุมงคลของท่านเล่ากันว่า สุดยอดประสบการณ์ แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน นั้นแหละคราฟ **************************************************************************************************************************************หลวงพ่อดำ เป็นพระธุดงค์มาจากเขมร มาจำพรรษาอยู่วัดกุฏีน่าจะช่วงก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ มรณภาพนานมากแล้ว พระท่านมีชื่อเสียงเรื่องคงกะพันมหาอุดมากป้องกันคุณไสย อาถรรพ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี หลวงพ่อดำธุดงค์มา วัดมีโบสถ์เก่าอยู่แล้ว หน้าโบสถ์จะมีสิงห์ตะกั่วคู่หนึ่งตั้งอยู่ ขนาดไม่ใหญ่มาก เด็กๆ แถววัดจะชอบแบกกันไปเล่นกันตามท้องนาเป็นที่สนุกสนาน แล้วเรื่องที่แปลกก็คือสิงห์คู่นี้ ต่อให้เด็กๆเล่นแล้วทิ้งไว้ตามท้องนา เช้ามาก็จะเห็นกลับไปตั้งอยู่หน้าโบสถ์ที่เดิมทุกครั้งไปโดยไม่มีใครทราบว่าใครเอามาไว้ที่เดิมสิงห์ตะกั่วคู่นี้หละครับ ที่มาของเนื้อตะกั่ว ของพระหลวงพ่อดำ ท่านนำมาหลอมสร้างพระของท่าน พร้อมฝังเขี้ยวหมาป่าแก้อาถรรพ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งประวัติของหลวงพ่อดำท่านนี้ มีความไม่แน่ชัดสักเท่าไหร่ แต่กลับมีประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดเลื่องลือจากรุ่นสู่รุ่น ที่กล่าวขานกันถึงพระเครื่องเนื้อตะกั่วของหลวงพ่อดำ โดยสมัยนั้นช่วงในยุคของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยในจังหวัดปราจีนบุรีที่หลวงพ่อดำนั้นได้อาศัยจำพรรษอยู่ที่วัดกุฏิ หลวงพ่อดำท่านนี้ได้เล่ากันว่าท่านเป็นพระธุดงค์จากเขมรและได้มาจำพรรษาที่วัดกุฏิ ซึ่งมีพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับฝั่งเขมร โดยเป็นที่รู้กันดีว่า วิชามนต์ดำ,คุณไสย,ยาสั่ง,ตลอดจนภูตผีพลายกุมารรักยม เป็นที่ขนานนามว่าของเขมรนั้นแรงนัก ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นก็พากันหวาดกลัวกันไปทั่ว ร้อนจนถึงหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ ซึ่งหลวงพ่อดำท่านนี้มีตบะวิชาแกร่งกล้า เนื่องจากท่านเป็นพระที่ชอบธุดงค์ ตามป่าเขาแถวตะเข็บชายแดนติดเขมร และที่แน่นอนว่าหลวงพ่อท่านเองท่านก็เป็นพระเขมรอยู่แล้วก็ต้องได้พบเจอกับการท้าทายจากมนต์ดำฝั่งเขมรกันอยู่เนื่องๆในครั้งที่ยังธุดงค์อยู่ พอมาครั้งนี้ก็มีข่าวที่ชาวบ้านพากันหวาดกลัวเกี่ยวกับคุณไสยมนต์ดำจากฝั่งเขมร หลวงพ่อดำท่านจึงได้เมตตาจัดสร้างวัตถุมงคลเนื้อตะกั่วซึ่งถือว่าเป็นรุ่นแรกๆของท่าน ไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อตะกั่วพิมพ์พระปิดตาเกลอเดียว(พิมพ์ปักเป้า) ตลอดจนพิมพ์พระปิดตา5เกลอ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ปิดตาพวงชมพู่5เกลอเนื้อตะกั่วหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ ในการสร้างครั้งนั้นหลวงพ่อดำได้กดพุทธาคมเจาะจงเลยว่า ป้องกันคุณไสย,มนต์ดำ,อวิชชาต่างๆตลอดจนเกาะเพชรคงกระพันชาตรี ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากคมหอกคมดาบและอันตรายทั้งปวง พอหลวงพ่อดำได้สร้างเสร็จ ก็แจกจ่ายชาวบ้านให้พกติดตัวกันเอาไว้ โดยในครั้งนั้นก็มีประสบการณ์กันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีโจรมาปล้นและมีการต่อสู้กันเกิดขึ้น โจรได้ควักปืนมายิง แต่ปรากฏว่าปืนกลับยิงไม่ออก แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่ใช่เหตุการณ์เดียว ก็มีการกล่าวมานักต่อนักว่า โดนยิงไม่เข้าบ้างละ โดนโจรปล้นควักปืนมายิงแต่ปรากฏว่าปืนนั้นกลับระเบิดใส่ตัวของโจรเองจนเสียชีวิต พูดกันง่ายๆว่าแม้ในปัจจุบันก็มีประสบการณ์ที่ไม่แพ้ในยุคนั้นเลยทีเดียว ได้เล่ากันว่า พระชุดที่มีเขี้ยวหมาป่านั้น ครั้งตอนที่หลวงพ่อดำ ได้ออกธุดงค์ตามป่าตามเขาแถวตะเข็บชายแดน ท่านได้ไปเจอกับซากหมาป่าจำนวนหนึ่ง และในซากนั้นก็มีซากเสือโคร่งอยู่ไม่กี่ตัว ซึ่งในเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นไปได้ว่า มีการต่อสู้กันระหว่างฝูงหมาป่ากับเสือโคร่งที่พลัดถิ่น จึงมีร่องรอยการต่อสู้และซากศพอย่างที่เห็น หลวงพ่อดำท่านได้มองเหตุการณ์นี้อย่างลึกซึ้งถึงความอาจหาญของหมาป่า แม้ว่าจะตัวเล็กกว่า2เท่าแต่ใจนั้นไม่ต่างกับเสือโคร่งแม้แต่น้อย ดั่งคำที่ว่า “เสือหลงป่า อย่าดูแคลนหมาเจ้าถิ่น” หลวงพ่อดำท่านสังเกตจุดนี้จึงนำเขี้ยวของหมาป่ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้างวัตถุมงคลของท่าน โดยเขี้ยวหมาป่านั้นเป็นเครื่องรางที่หลวงพ่อดำท่านต้องการสะกดความเข้มขลังคงกระพันชาตรีและกำกับพระคาถาหัวใจราชสีห์ลงไปด้วยที่จะป้องกันและสะท้อนคุณไสย,มนต์ดำและอวิชชาต่างๆกลับไปหาคนผู้นั้น และการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อดำท่านก็จะเป็นรูปแบบพระเนื้อชินตะกั่วฝังเขี้ยวหมาป่าเสียส่วนใหญ่ และสำคัญด้วยว่าท่านได้มีรูปแบบพิมพ์พระที่หลากหลายกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ปิดตา,พิมพ์พระพุทธและพิมพ์ต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างวาระกัน ปัจจุบันพระชุดนี้ นับว่าหายากขึ้นทุกวัน องค์นี้ตัวจริงเสียงจริง ราคาแบ่งบันเลยครับ
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |