พระกสิณรุ่นแรกหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ พิมพ์บัวชั้นเดียว(บัวหวี)

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน ขวัญ ปู่จันทร์
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 0615463658
Line ID siam1350
จำนวนผู้ชม 1,415
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
สุราษฎร์ธานี 12 กันยายน 2565 12:16 PM
ชื่อพระ :

พระกสิณรุ่นแรกหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ พิมพ์บัวชั้นเดียว(บัวหวี)


รายละเอียดพระ :

.หลวงพ่อพัฒน์ นารโท "เทพเจ้าแห่งเมืองคนดี" ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 25 ปี ใน พ.ศ. 2430 ณ.อุโบสถวัดพระโยค โดยมีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ เจ้าอธิการวัดโพธิ์ ตำบลบ้านตลาดบน เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และ หลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "นารโท" บวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา...
...หลวงพ่อพัฒน์ เมื่อท่านมีอายุมากขึ้น หลวงพ่อพัฒน์ก็ได้บุกเบิกสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่ง กล่าวกันว่าที่ดินที่หลวงพ่อพัฒน์ใช้เป็นสถานที่สร้างวัดนั้น แต่เดิมเป็น เขตป่าช้าของวัดพระโยค ด้วยพรรษากาลที่ไม่ถึงสิบพรรษาและด้วยปัจจัยที่ท่านมีอยู่เพียง 6 บาทเมื่อครั้งแรกเริ่มสร้างวัด แต่ด้วยบารมีผลานิสงฆ์อันท่านได้เคยสร้างสมมา ประกอบกับความเป็นผู้มุ่งมั่นมีปณิธาน และเป็นที่นิยมนับถือของราษฏร หลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นภิกษุหนุ่ม ก็สามารถสร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ เป็นที่รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่" (ชื่อ "วัดใหม่" นี้คงใช้อยู่ตลอดสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้สร้างว่า "วัดพัฒนาราม")...
...นอกจากความเชียวชาญในเรื่องกสิณ โดยเฉพาะ "เตโชกสิณ และปฐวีกสิณ"แล้ว หลวงพ่อพัฒน์ยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณพิเศษในทางการแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนโบราณอีกด้วย ในช่วงชีวิตของท่าน หลวงพ่อพัฒน์ได้ใช้วิชาความรู้ความสามารถทางการแพทย์แผนไทย สงเคราะห์ช่วยเหลือรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้ด้วยโรคต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยไม่สนใจใยดีในอามิสสินจ้างใด ๆ หรือแม้แต่ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียของตัวท่านเอง ก็มิได้คำนึงถึงหวังแต่เพื่อได้ช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกันให้พ้นจากความทุกข์ภัยไข้เจ็บ เป็นที่ตั้งเท่านั้น ด้วยความเป็นพระภิกษุผู้ตระหนักรู้เท่าทันเหตุปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งทรงคุณทั้งทางการแพทย์แผนไทย และทรงพลังจิตมหิทธิคุณ เปี่ยมสังฆานุภาพ นี่เองหลวงพ่อพัฒน์จึงเสมือนหนึ่งเสาหลักที่พักใจ รวมทั้งเป็นที่พึ่งพิงนานาประสงค์ของประชาชนในยุคนั้น หรือแม้กระทั่ง ผู้คนในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การดำรงอยู่ในเพศบรรชิตของหลวงพ่อพัฒน์ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือสืบทอดจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสถาพรอยู่ตอไป แล้วยังเป็นการช่วยเหลืออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ประชาชนได้นานาประการอีกด้วย...
...หลวงพ่อพัฒน์ ได้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่อุปัชฌาย์ พระครู และเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอนอยู่ประมาณ 4-5 ปีแล้ว ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดติดในอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ และแน่วแน่ในการปฏิบัติบำเพ็ญเพียร ประพฤติธรรม การมุ่งมั่นเอาความสงบเป็นเครื่องนำ หลวงพ่อพัฒน์จึงได้ลาออกจากตำแหน่งพระครู เจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง (อำเภอบ้านดอน-เดิม) เมืองไชยา และตำแหน่งอุปัชฌาย์ เพื่อการออกไปธุดงค์ ในบรรดาพระสังฆาธิการของอำเภอเมือง เมืองไชยา หรือบ้านดอนในยุคนั้น หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อพัฒน์ นับเป็นพระภิกษุที่มีอาวุโสสูงเป็นลำดับต้น ๆ ท่านหนึ่งจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ แทนหลวงพ่อพัฒน์การลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ ของหลวงพ่อพัฒน์ในครั้งนั้นนอกจากเจตนาเพื่อการธุดงค์แล้ว ท่านคงประสงค์จะสละตำแหน่ง เพื่อเป็นการเปิดทางให้ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียง "พระวินัยธร" ฐานานุกรมของตำแหน่งเจ้าคณะเมืองให้ได้ตำแหน่ง พระครู เจ้าคณะแขวงและพระอุปัชฌาย์แทนท่านด้วย นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง ความเป็นผู้ละวางไม่ยินดี ไม่หลงไหล ไม่ยึดติดในอำนาจยศถาบรรดาศักดิ อันเป็นบุคคลประเภทที่หาได้ยากแล้ว การลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ ในครั้งนั้น ยังได้แสดงให้เห็นถึงคุรธรรมแห่งความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีของหลวงพ่อพัฒน์ ที่ควรแก่การยกย่องเทิดทูน และประกาศเกียรติคุณเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย...
...ประมาณหลังจากต้นปี พ.ศ. 2447 หลวงพ่อพัฒน์ ผู้สละตำแหน่งและสมณศักดิ์ มุ่งวิรัติตน แสวงหาความวิเวก อาศัยความสงบเป็นเครื่องนำ ก็ได้ออกเดินธุดงค์รอนแรมไปยังสถานที่ต่าง ๆ เรื่องการธุดงค์ของหลวงพ่อพัฒน์ น่าจะมีการธุดงค์อย่างน้อยก็ 2 ครั้งสำคัญด้วยกัน กล่าวคือ หลังจากพ้นสภาวะของพระนวกะหรือพระบวชใหม่ (ผู้มีพรรษาไม่ถึง 5 พรรษา) แล้ว ท่านได้ออกธุดงค์ไปภาคกลาง ภาคเหนือ แวะมนัสการปูชนียสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ พระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระแก้วมรกต ฯลฯ เป็นต้น แล้วได้หยุดจำพรรษาที่วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ฯ เป็นเวลา 1 พรรษา ก่อนที่จะเดินทางกลับสุราษฏร์ธานี และเมื่อลาออกจากตำแหน่งพระครู เจ้าคณะแขวง และพระอุปัชฌาย์ในต้นปี พ.ศ. 2447 ในครั้งนี้ท่านธุดงค์ลงในทางภาคใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ฯลฯ หลังจากการธุดงค์ครั้งสำคัญทั้ง 2 ครั้ง ดังกล่าวแล้วท่านก็ได้ออกธุดงค์เป็นครั้งคราว ตามป่าเขาลำเนาไพรที่ไม่ไกลมากนัก โดยใช้เวลาในการธุดงค์ครั้งละ 2-3 เดือน หรือเวลามากหรือน้อยกว่านั้น ย่อมขึ้นอยู่กับภารกิจในการบริหารวัดของท่าน ในระหว่างการธุดงค์ละแวกภาคใต้ ท่านได้พบสถานที่อันเป็นสัปปายะแห่งหนึ่ง ได้เข้าพักปักกลดเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ระยะหนึ่ง ห่างจากบริเวณที่ท่านพักปักกลดพอสมควร เป็นหมู่บ้านป่าเล็ก ๆ ซึ่งท่านได้อาศัยอาหารจากการใส่บาตรของชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นยังชีพ หลวงพ่อเคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าเช้าวันหนึ่ง ขณะออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านได้มีสตรีรูปงามนางหนึ่งนำอาหารมายืนคอยใส่บาตรในครั้งแรก ที่ท่านทอดสายตามองไป ก็ได้เห็นว่า สตรีผู้นั้นมีความงดงามมาก ครั้งเมื่อสตรีผู้นั้นกำลังตักบาตร ขณะหลวงพ่อพิจารณาอาหารที่สตรีผู้นั้นใส่บาตรก็ปรากฎว่า ท่านได้มองเห็นร่างกายของสตรีโฉมสคราญผู้นั้นเหมือนซากศพ ล้วนแต่ปฏิกูลทั้งสิ้น มีอาการเน่าแฟะ เด็มไปด้วยน้ำเหลือง หลังจากมองเห็นภาพอย่างนั้นอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วภาพอันน่าสลดชวนปลงสังเวชก็พลันหายไป จิตซึ่งกำลังนิ่งเฉยสงบก่อให้เกิดปัญญา ตระหนักในความไม่เที่ยงของสังขาร พิจารณาเห็นว่า ในหมู่สัตว์ทั้งหลายเมื่อเกิดมาแล้วล้วนมีความตายเป็นที่สุด จะหาสิ่งใดในร่างกายของคนเรานี้เป็นแก่นสารย่อมมิได้เลย สัตว์ทุกรูปทุกนาม เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายเป็นธรรมดา แต่ขณะยังมีชีวิตอยู่แทบทุกชีวิตมักถูกอวิชชาครอบงำ ปกคลุมจิตใจจนมืดมิด กระทั่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เห็นไปว่าเป็นตัวกู ของกูไปหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ยามที่ได้สัมผัสสิ่งใดเข้าก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บ ร้อน อ่อน แข็งไปตามสภาพเพราะมีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น มีอุปาทานนั่นเอง ครั้นแล้วท้ายสุดก็ล้วนต้องทอดร่างอันน่าเกลียด เน่าเหม็นทิ้งไว้อย่างไร้ความหมายแทบทั้งสิ้น การมองเห็นโฉมงามสคราญ เต่งตึงด้วยเนื้อหนังอวบอั๋น ชวนให้เกิดกำหนัดกระสันรัญจวนใจ เป็นดั่งซากศพเช่นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านคงได้บรรลุถึงความมีอริยฤทธิ์แล้ว...
...เล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงที่หลวงพ่อพัฒน์กำลังสร้างวัดอยู่นั้น ท่านได้ป่วยด้วยโรคท้องร่วง และมีอาการหนักมากประกอบกับการแทพย์ในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงยากแก่การบำบัดรักษาจะเยียวยาให้หายได้ ครั้นหลวงพ่อพัฒน์ ตระหนักถึงอาการที่ไม่มีทางจะแก้ไขของตัวท่าน ก็ได้สั่งให้ศิษย์ซึ่งเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งดำเนินการกับสรีระอันไร้ลมหายใจของท่านในทำนองว่า หากท่านถึงมรณภาพแล้ว ขอให้พระภิกษุรูปนั้นจุดเทียนไว้ข้างกายศพ ติดต่อกันไปอย่าให้เทียนดับโดยตลอดเวลา 7 วัน 7 คืน หลังจากสั่งความแล้วไม่นาน ท่านก็สงบแน่นิ่ง ลิ้นลมหายใจ ใครต่อใครที่ได้มาเห็นอาการต่างก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันทั้งสิ้นว่าท่านมรณภาพแล้ว เมื่อหลวงพ่อสิ้นลมแล้ว พระภิกษุผู้รับคำสั่งก็ปฏิบัติตามคำหลวงพ่อทุกประการได้ทำการจุดเทียนขึ้นสว่างโพลงติดต่อกันอยู่เสมอมิได้ขาด ตลอดเวลา ร่างไร้ลมหายใจของหลวงพ่อ นอนแน่นิ่งอยู่เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน ครั้นพอเช้าวันที่ 3 สิ่งที่เหลือวิสัยเกินกว่าสามัญปกติก็บังเกิดขึ้น นั่นคือร่างที่ไร้ลมหายใจของหลวงพ่อ ได้กลับฟื้นคืนชีพมีลมปราณขึ้นมาอีก ด้วยเหตุที่ท่านมีอาการแบบที่ตายแล้วฟื้น ซึ่งเป็นกรณีหายาก จึงเป็นเรื่องชวนพิศวงสงสัยของผู้คนที่ทราบเรื่องเป็นยิ่งนัก ก็ย่อมมีการสอบถามกันพอควร โดยเฉพาะเรื่องชีวิตภายหลังความตายอันเป็นปริศนาที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต่างปรารถนา จนเป็นความกระหายใคร่รู้มาเนิ่นนานนับแต่บรรพกาล หลวงพ่อได้เล่าให้ใครต่อใครฟังว่า ยามเมื่อจิตวิญญาณท่องเที่ยวไปในโลกอันเป็นปรัศนีย์ของผู้ยังมีชีวิตอยู่ ณ โลกแห่งกามาวจรใบนี้ ท่านได้เดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง แล้วก็พบกับคฤหาสน์อันโอ่โถงใหญ่โตรโหฐานคล้ายประหนึ่งกับสถานพำนักของเจ้าขุนมูลนาย ผู้มั่งคั่งร่ำรวยด้วยอำนาจบารมี ขณะท่านเดินเข้าไปภายในคฤหาสน์หลังงามนั้น คนเฝ้าหรือผู้ดูแลคฤหาสน์ได้แสดงอาการต้อนรับท่านด้วยความนอบน้อมพินอบพิเทาเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งท่านสนเท่ห์แล้วเอ่ยถามทำนองว่า "นี่เป็นบ้านของใคร" พอคนเฝ้าคฤหาสน์ตอบให้ทราบว่าเป็นบ้านของท่าน หลวงพ่อได้ปฏิเสธว่าท่านไม่มีบ้าน มีแต่วัด เพราะเป็นสมณะพร้อมกับคำบอกปฏิเสธ ไม่อาจยอมรับในสิ่งซึ่งมิใช่วิสัยแห่งภิกษุภาวะ ท่านก็ถอยหลังกลับออกมาจากคฤหาสน์หลังนั้นในทันที่แต่ด้วยความรีบร้อน เท้าได้สะดุดเข้ากับวัตถุบางอย่าง บ้างว่าเป็นธรณีประตู ทำให้ล้มลง แล้วก็สิ้นความรู้สึกไปชั่วขณะ ครั้นมารู้สึกตัวอีกครั้งก็ในตอนที่ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมานั่นเอง เรื่องราวหลังความตายที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เล่าสู่ให้ผู้สนใจใคร่รู้ได้ทราบ นับเป็นมรณานุสติอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยเตือนสติให้ผู้คนได้ตระหนัก ได้ตรึกระลึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิตและสังขาร...
...ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อพัฒน์ได้บอกให้ศิษย์ผู้ใกล้ชิดทราบเป็นการล่วงหน้าว่าวันมรณภาพของท่านคือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบต่างก็ดีใจคอไม่ค่อยดี เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา คำพูดของหลวงพ่อมักกลายเป็นความจริงทุกประการ บางคนจึงต้องเตรียมทำใจไว้ล่วงหน้า แบบบว่า อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด แม้มนุษย์สามารถเลือกกระทำ สามารถตัดสินใจได้สารพัดอย่าง แต่บางครั้ง มนุษย์ก็มิอาจฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติได้ รวมทั้งมิอาจขัดขืน กฎแห่งกรรม ในวงจรชีวิตอันสลับซับซ้อนเกินกว่าปัญญาปุถุชนจะวินิจฉัยได้...
...เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 อันท่านเคยบอกศิษย์ใกล้ชิดว่าเป็นวันมรณภาพของท่านจะมาถึง ในคืนก่อนวันนั้น ท่านได้บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตั้งแต่หัวค่ำ ด้วยความสงบเย็นและสว่าง โดยมิได้มีความประหวั่นพรั่นพรึงต่อความตาย ซึ่งท่านตระหนักทราบว่ากำลังย่างก้าวเข้ามาหาอย่างช้าๆ แต่หนักแน่นมั่นคง แม้ว่าในยามนั้น สังขารของท่านจักผจญอยู่กับความป่วยเจ็บตามธรรมดาของสังขาร ที่ต้องร่วงโรยผุพังไปตามกาลเวลาตามกฎแห่งธรรมชาติ แต่จิตใจของท่านยังแจ่มใสเบิกบาน สงบเย็น และมิเคยละเว้นจากกิจวัตรประจำวัน ที่ท่านได้เคยปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นประจำ คือการบำเพ็ญสมาธิภาวนาเลย กระทั่งเวลาประมาณ 04.00 น. เมื่อรุ่งอรุณเดินทางใกล้เข้ามาทุกขณะ หลวงพ่อพัฒน์ซึ่งนั่งสมาธิตั้งแต่หัวค่ำ ได้ให้บรรดาศิษย์ช่วยกันพยุงท่านลุกขึ้น ด้วยว่ายามนั้นเรี่ยวแรงของสังขารที่ชราภาพลดน้อยถอยลงตามลำดับ ครั้นท่านผลัดเปลี่ยนจีวรชุดใหม่เสร็จแล้ว ศิษย์ก็ช่วยประคองท่านนั่งลงทำสมาธิต่อไป อนึ่ง ก่อนหลับตาลงภาวนา ท่านให้ศิษย์จุดเทียนไว้ที่เบื้องหน้าท่าน พร้อมทั้งห้ามมิให้ใครมาส่งเสียงอื้ออึงในที่นั้นและหลวงพ่อได้กล่าวข้อความทำนองว่า ท่านจะทำสมาธิวิปัสสนาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว กล่าวเสร็จท่านก็หลับตาภาวนากำหนดจิตเข้าสู่สมาธิธรรมเป็นลำดับ ครั้นประมาณเวลา 08.43 น. บรรดาศิษย์ที่เฝ้าดูอาการของท่าน สังเกตเห็นศีรษะของหลวงพ่อโน้มเอียงลงมาเล็กน้อย ต่างจากปกติที่นั่งตัวตรง ไม่ไหวติงจึงได้เข้าไปพินิจดูใกล้ ๆ แล้วก็ประจักษ์ว่า หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ได้ละทิ้งเบญจขันธ์ไปอย่างสงบดุษฏีแล้ว เมื่อตระหนักว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว แม้จะเคยทราบจากคำบอกเล่าของท่านมาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ก็ยังอดที่จะโศกเศร้าอาลัยกันมิได้ ในขณะที่กำลังโศกาอาดูรนั้น มีพระภิกษุรอบคอบรูปหนึ่ง ได้ออกไปตามช่างภาพมาบันทึกภาพหลวงพ่อพัฒน์ในท่านั่งสมาธิมรณภาพไว้เป็นอนุสรณ์...
...หลังจากได้ทำการบรรจุศพหลวงพ่อแล้ว ครั้นล่วงเข้าปี พ.ศ. 2491 พระภิญโญ เจ้าอาวาสวัดใหม่ในขณะนั้น ได้ฝันไปว่าหลวงพ่อพัฒน์มาบอกว่า ขณะนี้ตัวแมลงสาบมารบกวนท่านเหลือเกิน ขอให้ทำการโยกย้ายเปลี่ยนสถานที่ใหม่แรกๆ เจ้าอาวาสไม่ค่อยใส่ใจนักแม้จะฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สองก็ตาม กระทั่งได้ฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สาม ประมาณวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2491 จึงได้ทำการเปิดที่บรรจุศพออกดูก็พบเห็นแมลงสาบไต่ตอมสรีระของท่านเต็มไปหมดเหมือนกับที่ได้ฝันเห็นไว้ไม่มีผิด นอกจากนั้น ยังทำให้ได้ทราบกันโดยทั่วไปอีกว่า แม้หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้วหลายปี ในสภาพการณ์แห่งยุคสมัยที่ยังไม่มีการใช้น้ำยาฉีดศพ เพื่อป้องกันการเน่าเหม็นในระยะแรกของการเสียชีวิต แต่สภาพสรีระของหลวงพ่อกลับไม่ได้เน่าเปื่อยตามธรรมดาแต่ประการใด คงยังอยู่ในสภาพคล้ายเดิม โดยมีลักษณะแห้งแกร่งคล้ายหิน...
...ครั้นได้ประจักษ์ดังนี้ จึงได้มีการบันทึกภาพไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความพิเศษอีกครั้งหนึ่ง สรีระซึ่งไร้ลมปราณ สิ้นชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็ยังไม่เน่าเปื่อย ผุพังตามธรรมชาติวิสัย ก่อนกาลหลวงพ่อพัฒน์มรณภาพ (พ.ศ. 2485) ขึ้นไปเท่าที่ได้ทราบกันโดยกว้างขวางนั้น ยังไม่เคยปรากฎว่า มีพระเกจิอาจารย์ท่านใดที่มรณภาพแล้ว ศพไม่เน่าเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผง แต่แห้งแกร่งเสมือนหิน ภายหลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดการบรรจุสรีระอันไม่เน่าเปื่อยแห้งแข็งประดุจหินของหลวงพ่อ ไว้บนศาลาที่หลวงพ่อสร้างไว้หน้าอุโบสถ อย่างเป็นการถาวรตราบกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งในทุกวันมักจะมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้สักการะบูชาอยู่เสมอ ชนิดที่กลิ่นธูปและควันเทียนไม่เคยจางหายไปตราบจนทุกวันนี้...

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ