แหวนพิรอด วงเล็ก หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน กาญจนบุรี

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน โสฬสมงคล
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 089 1435795
Line ID boonchx
จำนวนผู้ชม 46
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
กรุงเทพมหานคร 27 เมษายน 2567 14:07 PM
ชื่อพระ :

แหวนพิรอด วงเล็ก หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน กาญจนบุรี


รายละเอียดพระ :

แหวนพิรอด วงเล็ก หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน กาญจนบุรี

ขนาดของแหวนวงนี้ ถือเป็นขนาดเล็กสุดเท่าที่เคยผ่านมือผมมา แต่ก็สามารถสวมเข้าได้กับนิ้วก้อย( มือซ้าย )ของผมได้พอดี
ด้านในเป็นผ้าห่อศพขอดเป็นตัวแหวน จุ่มรัก รักออกแดง
แหวน วงนี้ สภาพรักมี 2 ลักษณะคือ บางส่วนเป็นรักตายและบางส่วนเป็นรักเป็น สำหรับภาพขยายที่นำมาลงให้ชม เป็นลักษณะของผิวรักเป็น ซึ่งจะมีลักษณะแบบเดียวกับผิวรักที่มีอายุ 100ปี คือมีการแตกของผิวรักเป็นเส้นใยตารางอยู่บางส่วน

กรรมวิธีการสร้างแหวนพิรอด ของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน
ท่าน นำผ้ามัดตราสังข์ มาลงอักขระด้วยพระคาถาอิติปิโส มงคลฯ กับหัวใจพระธรรม ๗ คัมภีร์ ลงเดินหน้า ถอยหลัง เรียกว่า ลงอักขระสดุ้งกลับ คือ กลับสิ่งเลวสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี หรือที่ดีอยู่แล้วก็จะทำให้ดียิ่งๆขึ้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงเอามาปลุกเสก หลวงปู่จะทดสอบความขลังโดยเอาแหวนพิรอด ใส่ในเตาที่มีไฟลุกโชน ถ้าวงไหนไม่ไหม้ไฟ ถือเป็นอันเสร็จใช้ได้ ท่านจึงจะมอบให้แก่ผู้ที่มาขอไป เพื่อนำ ไปเป็นเครื่องมงคล พกพาอาราธนาติดตัว ด้วยเหตุที่แหวนพิรอดไม่ไหม้ไฟนั้น จึงมีความเชื่อกันว่าเป็นของดี ของคงทนทางคงกระพัน มหาอุด กันเขี้ยวงาต่างๆ คนที่ได้นำไปใช้ต่างก็มีประสบการณ์กันมากมาย จึงเป็นที่นิยมเสาะหาพกพาติดตัวเมื่อใครอยากจะได้ก็จะไปขอให้ท่านเมตตาทำให้ ท่านก็จะพิจารณาทำให้เป็นรายบุคคลไป ซึ่งบางคนกว่าจะได้ต้องรอนานหลายๆเดือน หวนพิรอด หลวงพ่อม่วงวัดบ้านทวน และ ลูกอม ผงพุทธคุณ หลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว เป็นสุดยอดเครื่องรางในตำนาน ที่โด่งดังมาตั้งแต่อดีต แหวนพิรอดมีวิธีการสร้างที่ยากลำบากเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความพิถีพิถันสูง มีพุทธคุณ ยอดเยี่ยมด้านคงกระพัน จนหลวงพ่อม่วงท่านได้ฉายาว่า หลวงพ่อม่วงดาบหัก เพราะผู้ใดมีวัตถุมงคลของท่านต่างอยู่ยงคงกระพัน ขนาดดาบยังหัก
สำหรับ คุณวิเศษของแหวนพิรอดแห่งวัดบ้านทวน เข้าป่าเข้าดง ผีป่า ปีตายโหย สัตว์ร้าย สัตว์มีพิษต่างๆ หรือแดนอาถรร์ต่างๆก็ไม่อาจมาแผ่วพาลลูกศิษย์ ที่มีแหวนพ่อม่วงได้ แม้ในยามศึกสงครามก็เป้ฯมหาอุต คงทนต่อศาสตราวุธ หรือแม้แต่สิงอัปมงคลที่มองไม่เห็น ปล่อยมาทางอากาศ ก็มิอาจทำร้ายได้

คาถาบูชาการสวมใส่และนำพาแหวนพิรอดมีกำกับไว้ดังนี้
" โอมพระพิรอด ขอดพระพินัย " เป็นหัวใจพระคาถาเมื่อสวมใส่แหวนหรือพกพา และ
" โอมพระพินัย คลายพระพิรอด " เป็นหัวใจพระคาถาเมื่อถอดแหวนออกหรือเก็บแหวน


การวิเคราะห์อายุรัก ของแหวนพิรอด หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน
การพิจารณา " เก๊ แท้ " ของแหวนพิรอดของท่านมีหลักดังนี้( ตามความเห็นของผม )
1. แหวนของท่านต้องเป็นผ้าดิบขวั้น ไม่ใช่เชือก( บางแบบอาจมีเชือกพันทับผ้าดิบขวั้นอีกที อันนี้ต้องพิจารณาให้ดี )
2. เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างแหวนพิรอดของท่าน แหวนของท่านทุกวง จะมีการลงรักเอาไว้ ก่อนที่ท่านจะทดสอบแหวนโดยการโยนเข้าเตาไฟ ดังนั้นรักที่ได้ลงเอาไว้ที่ตัวแหวน ตอนก่อนที่แหวนจะโดนเผา เราจะเรียกว่า " รักเป็น " คือเป็นรักปกติ ที่มียางรักอยู่ในเนื้อรักตามธรรมชาติ และเมื่ออายุรัก มีอายุตั้งแต่ 80-90 ปี ผิวรักก็จะเริ่มแตกเป็นเส้นตาราง ก็เนื่องมาจากยางรักเริ่มหมดไปจากเนื้อรัก ทำให้รักเกิดการหดตัว ทำให้เกิดรอยแตกเป็นเส้นตารางดังกล่าว
และเมื่อรักถูกเผาหรือโดนความร้อน เป็นเวลานาน สภาพรักจะเปลี่ยนเป็นแบบที่เรียกว่า " รักตาย " คือยางรักในเนื้อรักจะเปลี่ยนสภาพไปในทันทีที่โดนความร้อน ทำให้รักมีสภาพแห้งเหมือนกับสีที่ทาแล้วแห้ง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า " รักหมดยาง " แต่ผิวรักจะไม่แตก และรักจะมีสภาพนี้ ไม่ว่าอายุรักจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม ก็จะไม่แตกเป็นเส้นตารางแบบ " รักเป็น "( ดูภาพขยายด้วยกล้อง 100x ของสภาพผิวรัก ประกอบได้จากรูปในกระทู้ )
3. ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถดูอายุรักแบบ "รักเป็น "ได้ในแหวนพิรอดของท่าน แต่ก็มีข้อสังเกตในการดู "รักตาย" ก็คือความแห้งเก่าตามธรรมชาติที่มี ตามความเก่าของผิววัสดุที่มีอายุ 90-100 ปี ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากผิววัสดุที่มีอายุน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้คงจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูความเก่าของเครื่องรางมาพอสมควร ถีงจะดูออก

ประวัติ พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน
หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน หรือ พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน อ าเภอบ้านทวน
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอพนมทวน) จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นพระเถระยุคเก่าที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง
หลวง พ่อม่วง เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ า เดือน 3 ปี พ.ศ. 2378 ณ บ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อ มั่น โยมมารดาชื่อ ใย มีพี่น้องด้วยกัน 3 คน พอหลวงพ่อม่วงมีอายุได้ 11 ปี โยมบิดาและโยมมารดา ได้นำหลวงพ่อม่วงไปฝากกับพระอธิการศรี เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนในสมัยนั้น ซึ่งเป็นวัดที่อยู่
ใกล้บ้าน เพื่อให้หลวงพ่อม่วงได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและและหนังสือขอม ตามแบบอย่างโบราณ
สมัย ก่อนนั้นการเล่าเรียนเขียนอ่านทั้งหลายต้องไปร่ำเรียนที่วัด กุลบุตรที่ไปเรียนต้องปรนนิบัติอุปฐากอาจารย์ คือเป็นศิษย์พระ รับใช้ท่าน กินนอนที่วัดเสร็จหรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่าเด็กวัด ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใดเลย โดยการเรียนนั่น ไม่ใช่ว่าจะร่ำเรียนแต่หนังสือแต่อย่างเดียว แต่ยังได้
ฝึกวิชาการต่างๆ อีกมากมายแลัวแต่ว่าพระอาจารย์นั้นจะประสิทธิ์ประสาทวิชาอะไรให้บ้าง เช่น การช่างและวิทยาคุณอื่นๆ เนื่องจากวัดถือเป็นแหล่งกำเนิดศิลปะวิทยาการต่างๆ หลวงพ่อม่วง ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียร จนสามารถออกเขียนได้สมควรแก่ความนิยมในสมัยนั้น
แล้วก็ได้ลาพระอธิการศรีกลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ได้เป็นกำลังของครอบครัว
จวบ จนเมื่อหลวงพ่อม่วง มีอายุได้ 21 ปี จึงเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านทวน โดยมีพระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ช้าง วัดบ้านทวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า "จันทสโร"
ในส่วนของพระอนุสาวนาจารย์ นั้น ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ว่าเป็นพระองค์ใด จะมีก็แต่คำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ว่า เป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสมุทรสงคราม มีวิชาทำแหวนพิรอดอันลือชื่อ ถักลวดลายได้งดงาม มีทั้งแหวนพิรอดใส่นิ้วและสวมแขน ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่หลวงพ่อม่วงใน
เวลาต่อมา
หลัง จากที่หลวงพ่อม่วงได้บวชแล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนท่องบทสวดมนต์ และพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นยำ นอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังชอบเรียนวิชากรรมฐานสมถะ วิปัสสนาธุระ และฝึกพลังจิต นอกจากนี้หลวงพ่อม่วง ท่านยังได้เดินรุกขมูลธุดงค์ในป่าลึก เพื่อฝึกฝนตนเองตามแบบอย่างพระในสมัยโบราณ สมัยก่อนการเดินทางทุรกันดารจริงๆไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ และอาณาเขตเมืองกาญจนบุรีติดต่อกับประเทศพม่า การเดินธุดงค์ก็นิยมไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองเมืองย่างกุ้ง พระมุเตาเมืองหงสาวดี และหลวงพ่อม่วง ท่านก็ธุดงค์ไปถึงพม่า จึงนับว่าท่านมีความอดทนต่อความยากลำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง
หลวงพ่อ ม่วง ท่านเป็นผู้ที่ขยันและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่เคยขาดทำวัตรสวดมนต์ สนใจในการศึกษาเล่าเรียน หลังจากอุปสมบทได้ 8 พรรษา ก็ได้เป็นพระคู่สวดประจำวัดบ้านทวน พอถึงพรรษาที่ 12 พระอธิการศรี มรณะภาพลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านทวนจึงร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อม่วงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทวนสืบต่อ แทน และเป็นเจ้าคณะต าบลบ้านทวน
เรียกว่า เจ้าอธิการม่วง
ด้วยความที่ หลวงพ่อม่วง ท่านเป็นพระที่มีความสามารถทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จึงมีคนเลื่อมใสเคารพนับถือเป็นอันมาก พอพรรษาที่ 21 ได้เป็นพระอุปัชฌายะ อุปสมบทกุลบุตรปีหนึ่งๆเป็นจำนวนมากมาย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน
ปี พ.ศ. 2458 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ ร.6 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส* ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี เสด็จเมืองกาญจนบุรี ทรงเห็นว่าคณะสงฆ์ในจังหวัดกาญจนบุรีมีความสงบเรียบร้อย ก็โปรดและทรงยกย่องเจ้าวัดเจ้าคณะนั้นๆ นับแต่พระครูวิสุทธิรังสี
(เปลี่ยน) เจ้าคณะเมือง ตลอดมาถึงเจ้าคณะ แขวงอำเภอและพระคณาธิการ ในขณะนี้หลวงพ่อม่วงวัดบ้านทวน อายุเวลานั้นชราถึง 92 ปีแล้ว ได้เดินทางไปรับเสด็จถึงเมืองกาญจนบุรี และทูลการงานได้คล่องแคล่ว ด้วยคุณงามความดีของเจ้าอธิการม่วง หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้เสร็จสิ้นการตรวจการแล้ว ท่านได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน เจ้าคณะแขวงฯ เป็นที่พระครูสิงคิคุณาธาดา
ในปี พ.ศ. 2459 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (12 เมษายน พ.ศ. 2403 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2464) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จ
สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดารงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี 112 วัน

หลวงพ่อม่วง (พระครูสิงคิคุณธาดา) บ ารุงศาสนกิจมาด้วยความเรียบร้อย ท่านไม่เคยเจ็บป่วยออดแอด แต่พอชรามากก็หนีกฎธรรมชาติไม่พ้น ได้ถึงมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2471 สิริอายุได้ 93 ปี พรรษา 71 ได้ทิ้งคุณงามความดีไว้เป็นที่ร่ำลือมาจนทุกวันนี้
เครดิต: http://www.amuletheritage.com/pdf/a99.pdf

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ