แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

พระสมเด็จ วัดระฆัง กรุงเทพมหานคร จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่องหนึ่งในเบญจภาคี
19 มีนาคม 2563    2,669

พระสมเด็จ วัดระฆัง กรุงเทพมหานคร จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่องหนึ่งในเบญจภาคี

โดย ศาล มรดกไทย
 

ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหนความนิยมและเป็นที่สุดในความ ปรารถนาของพระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อผงพุทธคุณผสมมวลสารมงคลหลายๆ ชนิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังคงเป็นอมตะ ตลอดไป เพราะเป็นพระเครื่องที่สูงสุดในด้านพุทธคุณและราคาในการสะสมตรง ตามสมญานามที่ได้รับการยอมรับว่า “จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง”


ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

จากหลักฐานที่ได้บันทึกเอาไว้ท่านเกิดที่ตําบลไก่จัน อําเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2331 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หนึ่ง และได้บวชเรียนเป็นสามเณรอยู่ที่วัดระฆังตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะที่ท่านยังเป็นสามเณรท่านได้มีใจฝักใฝ่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนมีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังแสดงธรรมเทศนาได้ดีเป็นอย่างยิ่งจนเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หนึ่ง และพระองค์ท่านได้รับเป็นนาคหลวง จัดการอุปสมบทให้ที่ วัดพระแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2350 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

หลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านยังคงศึกษาหาความรู้ในแขนงต่างๆ จากพระอาจารย์หลายๆ รูปรวมถึงศึกษาวิชากับสมเด็จพระสังฆราชฯ พระอุปัชฌาของท่านอีกด้วย ตลอดเวลาที่ท่านครองสมณเพศได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านยังได้เป็นประธานในการบูรณะวัดวาอารามในหลายๆ แห่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นที่โปรดปราณในพระเจ้าอยู่หัวในรัชสมัยต่อๆ มาแต่ท่านไม่ประสงค์ที่จะรับสมณศักดิ์ใดๆ

จนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลทีสีท่านถึงได้ยอมรับสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมกิติ” และได้เลื่อนขึ้นไปจนได้รับสมณศักดิ์สุดท้ายที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ช่วงปลายอายุขัยของท่านได้อาพาธด้วยโรคชราและได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2415 ที่วัดบางขุนพรหม รวมพระชนมายุได้ 85 ปี ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า แสดงถึงการที่ ท่านมีอายุยืนอยู่ในพระพุทธศาสนาถึงห้ารัชกาลทีเดียว



ขั้นตอนและมูลเหตุที่สร้างพระเครื่อง

ระยะเวลาที่ท่านยังไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ยังคงเป็นเพียง “ขรัวโต วัดระฆัง” ธรรมดาทําให้ท่านยังมีเวลาและได้เดินทางไปธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ จนเมื่อ ปี พ.ศ.2391 สมเด็จโตท่านได้เดินทางไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกําแพงเพชร และท่านได้ไปดูโบราณสถานต่างๆ ได้พบพระพิมพ์ตามกรุเจดีย์ของเมืองกําแพงเพชร ท่านได้นํากลับมาที่วัดระฆังจํานวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุจูงใจที่ทําให้ท่านมีดําริที่จะสร้างพระเครื่องเมื่อประมาณปี พ.ศ.2409 เพื่อมอบให้กับลูกศิษย์ที่ได้ช่วยท่านทําการบูรณะวัดวาอารามตลอดมา ท่านจึงได้รวบรวมมวลสารที่เป็นมงคลหลายๆ ชนิด และทําแม่พิมพ์ในรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งภายในเป็นรูปพระประธาน โดยท่านได้ใช้วิธีทําแบบทําไปแจกไปเรื่อยๆ หมดแล้วก็ทําใหม่และท่านได้ แจกให้ลูกศิษย์


เวลาที่ท่านไปบิณฑบาตรหรือไปตามกิจนิมนต์สถานที่ต่างๆ จนถึงตอนที่ท่านมรณภาพรวมเวลาที่ท่านได้สร้างสมเด็จวัดระฆังเป็นเวลาห้าถึงหกปีน่าจะได้ จํานวนไม่มากคงอยู่ที่หลักหมื่นองค์เป็นแน่




มวลสารสําคัญและพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสมเด็จวัดระฆังมีกี่พิมพ์แต่ที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับเป็นสากลมีเพียงสีพิมพ์ทรงคือ
1. พิมพ์สมเด็จพระประธาน (พิมพ์ใหญ่)
2. พิมพ์สมเด็จทรงเจดีย์
3. พิมพ์สมเด็จทรงฐานแซม
4. พิมพ์สมเด็จทรงเกศบัวตูม

(ยังมีพิมพ์ทรงปรกโพธิ์ที่คนเก่าแก่ยืนยันว่ามีแต่หายากมากแทบจะหารูปดูยังยาก)
เนื้อพระหลักๆ ท่านสร้างจากปูนขาวผสมมวลสารสําคัญคือผงพุทธคุณที่ท่านได้เขียนจากกระดานฉนวนและบดเก็บรวบรวมไว้ได้แก่ ผงมหาราช, ผงตรีนิสิงเห, ผงอิทธิเจ, ผงปถมังฯลฯ ผงต่างๆ เหล่านี้เป็นของสูงค่ามีพุทธคุณมากมายแบบครอบจักรวาล และยังมีดอกไม้บูชาพระ, เศษจีวร, กล้วยหอม, เม็ดข้าวสาร, เปลือกหอยที่เป็นมงคล, เนื้อดินพระพิมพ์เมืองกําแพงเพชร, ใบลานเผาป่น ให้เป็นผงและยังมีเม็ดสีขาวขุ่นและขาวใสเม็ดเล็กๆ ที่บางท่านเรียกเม็ดพระ ธาตุผสม รวมอยู่ด้วย


การพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์ต้องใช้เป็นสําคัญ โดยดูจากของแท้หรือรูปจากหนังสือที่เชื่อถือได้ และต้องจํารายละเอียดให้แม่น พระสมเด็จวัดระฆังมีไม่กี่แม่พิมพ์ต้องจําพิมพ์ที่เป็นมาตรฐานจริงๆ ด้านมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่มีมวลสารหลายๆ อย่างให้เห็นผสมอยู่ด้วยระยะเวลา การสร้างที่ผ่านมานานเกินร้อยปีทําให้น้ำมันตั้งอิ๊วที่เป็นตัวประสานเนื้อพระแห้งหมดจนทําให้พระเนื้อแกร่งเป็นธรรมชาติเกิดร่องรอยการยุบตัว และรอยแตกลายเป็นธรรมชาติหลายๆ จุดด้วยเหตุที่พระแห้งยุบตัวทําให้มองเห็นมวลสารต่างๆ ที่ฝังผสมอยู่ในเนื้อพระเช่นเม็ดแดงจากพระเมืองกําแพง ผงดําจากใบลานเผา เศษไม้หรือเศษก้านมะลิแห้งเม็ดขาวขุ่นและขาวใสหลายๆ

ขนาดพระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระชนิดเดียวที่ถ้าได้เห็นหรือส่องดูเนื้อพระแท้ๆ จะเห็นมวลสารต่างๆ ผสมรวมกันอย่างเป็นธรรมชาติจนถึงขนาดที่หลายๆ ท่านกล่าวว่า “ดูวัดระฆังแท้ๆ เห็นแล้วเนื้อจัดซึ่งตาดูแล้วมีพลังทั้งยังมีสมาธิดูแล้วไม่เคยเบื่อเลย” โดยรวมแล้วต้องเห็นจากของแท้หรือขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้จริงๆ 

พระสมเด็จวัดระฆังด้วยสูงค่าในด้านพุทธคุณมีประสบการณ์ ที่เล่าขานกันมาอย่างยาวนานเป็นพระในฝันของผู้ที่ศรัทธาในการสะสมบูชาพระเครื่องทั่วประเทศรวมถึงชาวต่างชาติที่นับถือในศาสนาพุทธซึ่งแม้แต่ ชิ้นส่วน เพียงเล็กน้อย ขอให้ได้ครอบครองก็เหมือนได้บูชาพระที่เป็นที่สุดในทุกๆ ด้านโดยแท้

 

 

ชม พระสมเด็จวัดระฆัง จากร้านพระ ที่นี่