พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบ

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน นิลาวิลพระเครื่อง
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 0846682346
Line ID saksitjudon
จำนวนผู้ชม 1,269
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
สมุทรสาคร 22 กุมภาพันธ์ 2564 16:16 PM
ชื่อพระ :

พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบ


รายละเอียดพระ :

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องหรือพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) อันเป็นการสร้างศรัทธาและการสืบทอดพระพุทธศาสนาได้อีกประการหนึ่ง

ความเป็นมาของการสร้างพระเครื่องหรือพระพิมพ์
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชวรใกล้จะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน พระอานนท์เฝ้าถวายการพยาบาลได้ทูลปรารภว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วจะเกิดความว้าเหว่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้สร้างสังเวชนียสถานไว้ 4 แห่ง เพื่อให้ชาวพุทธได้รำลึกถึง จากนั้นเกิดการสร้างสถูปเจดีย์และสิ่งต่างๆ อีกหลากหลาย

ต่อมา ประมาณ 200 ปี ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่ปรินิพพาน พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช ได้ขยายอานุภาพถึงแผ่นดินประเทศอินเดีย และนำแนวคิดในการสร้างรูปเทพเจ้าของชาวกรีกมาแทนการสร้างสถูปเจดีย์ จึงเกิดการสร้างพระขึ้นเป็นครั้งแรกในแคว้นคันธารราฐ เมื่อประมาณ พ.ศ.363 จากนั้นการสร้างพระเครื่องหรือพระพิมพ์ได้พัฒนามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ความเป็นมาของพระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา หรือสมเด็จหลวงพ่อจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน เป็นพระพุทธรูปพิมพ์ปางนั่งสมาธิแบบขัดสมาธิ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบาน บน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ รวมเป็น 9 กลีบ ตรงกับรัชกาลที่ 9 รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร และองค์เล็กขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพารในระหว่างปี พ.ศ.2508-2513

จำนวนการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา
จากข้อมูลในใบพระราชทานที่กำกับองค์พระ พอประมาณได้ว่าตั้งแต่เดือน 10 ปี 2508 ถึงเดือน 9 ปี 2512 มีจำนวน 2,974 องค์ ตามข้อมูลในตาราง



มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดามีเนื้อเป็นเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น) ซึ่งเป็นพลาสติกเหลวสีน้ำตาลอมแดง หลอมรวมกับวัตถุมวลสารมงคลต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลจากสำนักพระราชวัง เรื่องพระพุทธนวราชบพิตรและพระพิมพ์ในส่วนที่เกี่ยวกับ “ผงพระพิมพ์ที่ทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์” นำมาสรุปมวลสารในพระสมเด็จจิตรลดา ได้แก่

ก. ส่วนในพระองค์

1.ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จนถึงคราวที่จะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้

2.เส้นพระเจ้าซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง

3.ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล

4.สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์

5.ชันและสีซึ่งขูดจากเรือใบพระที่นั่งขณะทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง

ข. ส่วนที่มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร 211 แห่ง

วัตถุเครื่องผสมที่มาจากทุกจังหวัดนี้ กระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัตถุที่มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด ได้แก่ ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถาน เปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา

และน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงพุทธาภิเษกในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

การพิจารณาความเก่าแท้ของพระสมเด็จจิตรลดา

การพิจารณาความเก่าแท้ของพระสมเด็จจิตรลดา พิจารณาจากใบพระราชทานหรือใบกำกับองค์พระ เป็นกระดาษสีขาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ 12.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15.5 เซนติเมตร ด้านบนพิมพ์รูปองค์พระแต่ไม่ใช่องค์พระที่พระราชทานเพราะรูปพระจะพิมพ์ออกมาเหมือนกันทุกใบ

ในใบพระราชทานจะมีตราจักรี ตัวเลขลำดับที่พระราชทาน และรายละเอียดต่างๆ ทั้งชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน วันที่พระราชทาน วันที่สร้างและหมายเลขครั้งที่สร้าง

ที่สำคัญคือมี “พระปรมาภิไธย “ลายเซ็น” ของพระองค์ท่านเป็นหมึกสีน้ำเงิน บางใบเป็นหมึกซึม แต่บางใบเป็นหมึกแห้ง

สำหรับสาระสำคัญของใบพระราชทาน มีดังนี้

1.กระดาษที่ใช้พิมพ์ใบพระราชทาน

กระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นกระดาษธรรมดาผิวเรียบ สีขาว ผิวไม่มัน ปัจจุบันในโรงพิมพ์ก็ยังใช้กันอยู่ แต่กระดาษใบพระราชทานจะมีความเก่าเป็นสีขาวหม่นอมเหลืองจางๆ ถ้าเคยเห็นใบพระราชทาน จะเห็นว่ากระดาษมีสีขาวหม่นแบบกระดาษเก่า จะไม่ขาวสดแบบกระดาษใหม่ เพราะนับจากวันพระราชทานมาถึงปัจจุบันเกือบ 50 ปี


“ใบพระราชทานปลอม” ที่เห็นแพร่ระบาด จะมีเนื้อกระดาษต่างไปจากใบแท้คือใบปลอมส่วนใหญ่จะเป็น “กระดาษลูกฟูก” ผิวเป็นลอนเล็กๆ จะไม่เรียบ ถ้าเป็นกระดาษขาวเรียบก็จะไม่เก่า และมักถ่ายสำเนาสีออกมาจากใบจริง

ใบพระราชทานปลอมระบาดมากในจังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ โดยอ้างกันว่าเป็นใบของนายทหารเกษียณอายุราชการแล้ว ต้องการปล่อยพระในราคาไม่สูง ในราคาองค์ละไม่กี่หมื่นบาท พระปลอมที่มาพร้อมกับใบปลอมมักจะบรรจุในกล่องกำมะหยี่สีแดงคล้ำดูเก่า ฝากล่องมีรูปครุฑ ซึ่งพระที่บรรจุกล่องจะเป็นของปลอมเพราะพระแท้ไม่มีกล่องกำมะหยี่บรรจุแต่อย่างใด

2.สาระสำคัญในใบพระราชทาน

ใบพระราชทานเป็นใบกำกับองค์พระที่พระราชทานให้แก่ผู้ที่ทรงเห็นสมควร อันได้แก่ ข้าราชบริพาร ข้าราชการระดับต่างๆ โดยไม่ได้เลือกชั้นวรรณะ ขอแต่ให้เป็นผู้ที่ยึดมั่นประกอบกรรมดี พระองค์จะทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง แม้แต่พนักงานขับรถ คนสวน แม่ครัว ก็ยังได้รับพระราชทาน

ใบพระราชทานเป็นเอกสารส่วนพระองค์ วันที่รับพระราชทานองค์พระจะยังไม่ได้รับใบพระราชทาน แต่เจ้าหน้าที่วังจะแจ้งให้มารับภายหลัง

3.ตัวเลขที่เขียนอยู่ตรงมุมบนและมุมล่างขวา

ตัวเลขที่มุมบนด้านขวาเป็นหมายเลขของพระพิมพ์ที่ทรงสร้าง มุมล่างด้านขวา เป็นหมายเลขครั้งที่ทรงสร้างและวันเดือนปีที่สร้างพระ หมายเลขดังกล่าว “เขียนด้วยลายมือ” ด้วยหมึกซึมและหมึกแห้งสีน้ำเงิน จะเป็นพระที่ทรงสร้างในช่วงปี พ.ศ.2508-2510 ส่วนหลังจากนี้จะเป็นตัวเลขที่ “พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด” ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านล่างตรงกลาง เป็นหมายเลขลำดับที่ของใบพระราชทาน เป็นตัวเลขอารบิคทั้งหมดจะตีตอกลงไปด้วยเครื่องตอกตัวเลข ไม่ใช่ตัวเขียน ตัวเลขนี้ถ้าเป็นพระที่พระราชทาน หลังปี พ.ศ. 2511 จะไม่มีตัวเลขตอกนี้

ความส่งท้าย
พระเครื่อง พระบูชา หรือเครื่องหมายทางศาสนาซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อที่มุ่งให้คนทำดีละเว้นความชั่ว มิได้มุ่งอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

ดังนั้น ควรยึดถือไว้เพื่อเป็นกำลังใจให้ประกอบคุณงามความดี ทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่าความหลงงมงายในทางไสยศาสตร์

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ