แม็กกาซีนพระ บทความและสาระความรู้

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร วัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,200 ปี พร้อมสักการะ หลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
13 กรกฎาคม 2563    1,187

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  

►ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แผนที่

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน  ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน ‘หลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์’ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่ วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1,200 ปี 

หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี


วัดป่าเลไลยก์ถูกทิ้งเป็นวัดร้างตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวกอยู่ได้เคยเสด็จมาที่วัดแห่งนี้ ได้ทรงบูรณะพระวิหารในโอกาสต่อมา ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ จึงได้ทรงประกาศยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปีพุทธศักราช 2468

วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

ภายในประกอบด้วย วิหารหลวงพ่อโต หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เป็นรูป พระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฎอยู่ ลักษณะอาคารสูงเด่นความสูงถึง 28 เมตรครึ่ง กว้าง 21 เมตรเศษ ยาว 31 เมตรเศษ ซ้อนชายหลังคา 3 ชั้น ชายคาลดสอง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี  วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทย  คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่  ด้านทางขึ้นลงวิหาร จึงมีรูปปั้น ขุนแผน และ นางพิมพ์ อยู่ด้วย

ระเบียงคดรอบวิหารหลวงพ่อโต บูรณะขึ้นใหม่ในโอกาสครบ 60 ปี ครองราชย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีตราสัญลักษณ์ติดประดับที่หน้าบันประตูทางเข้า จะเห็นภาพเขียนภาพแรก ของอดีตเจ้าอาวาส พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง อินตาอินโธ)และถัดไปมีจิตกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย
 

ระเบียงคต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

นอกจากนี้ยัง ภายในบริเวณวัดยังมี โบสมหาอุตม์ โบสถ์มอญศักดิ์สิทธิ์ที่ ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เคยเป็นสถานที่ฝึกสมาธิปฏิบัติธรรมและไสยเวทวิทยามาแต่โบราณคู่เมืองสุพรรณบุรี


ขอบคุณข้อมูลจาก 
www.watpasuphan.com